วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สัญลักษณ์ของธาตุ

สัญลักษณ์ของธาตุ

                ในอดีต  นักวิทยาศาสตร์ชื่อ จอห์น  ดาลตัน   เสนอให้ใช้รูปภาพเป็นสัญลักษณ์แทนธาตุชนิดต่างๆ  ดังตัวอย่าง

               







    
รูป  แสดงตัวอย่างสัญลักษณ์ของธาตุตามแนวคิดของ  จอห์น  ดาลตัน
                ในปัจจุบัน  เราใช้สัญลักษณ์ของธาตุตามแนวความคิดของ  โจห์น  จาคอบ  เบอร์ซีเลียส  โดยเขาเสนอให้ใช้อักษรแทนชื่อธาตุ  ซึ่งมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1.   ใช้อักษรตัวแรกของชื่อธาตุในภาษาอังกฤษหรือภาษาลาติน  เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่
2.   ถ้าตัวอักษรตัวแรกของชื่อธาตุซ้ำกัน   ให้เขียนอักษรตัวถัดไปด้วยตัวพิมพ์เล็ก  ดังแสดงในตาราง

ตัวอย่างสัญลักษณ์ของธาตุบางชนิดที่เราคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน
ตารางที่ 1   ตัวอย่างสัญลักษณ์ของธาตุ

ธาตุ

สัญลักษณ์
ชื่อภาษาอังกฤษ
ชื่อภาษาละติน
ไฮโดรเจน
H
Hydrogen
-
คาร์บอน
C
Carbon
-
ไนโตรเจน
N
Nitrogen
-
ออกซิเจน
O
Oxygen
-
โซเดียม
Na
Sodium
Natrium
โปแทสเซียม
K
Potassium
Kalium


สัญลักษณ์นิวเคลียร์

                   เลขมวล     =    p+n              
                  เลขอะตอม  p
นักวิทยาศาสตร์จะบอกจำนวนอนุภาคมูลฐานในอะตอมของธาตุแต่ละชนิดโดยใช้สัญลักษณ์นิวเคลียร์  ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข  จำนวน   อยู่ในตำแหน่งล่างซ้ายและบนซ้ายของสัญลักษณ์ธาตุ (Xโดย
                ตัวเลขในตำแหน่งล่างซ้าย              เรียกว่า  เลขอะตอม”  (Z)
                ตัวเลขในตำแน่งบนซ้าย                   เรียกว่า   เลขมวล”     (A)

เลขอะตอม  (Atomic  Number)   ใช้สัญลักษณ์เป็น  Z
             คือ  ตัวเลขที่แสดงจำนวนโปรตอน  (p)  สำหรับธาตุชนิดเดียวกันจะต้องมีจำนวนโปรตอน(p) เท่ากันเสมอ   นั่นก็คือ เลขอะตอมจะต้องเท่ากันเสมอ  ดังนั้น  ธาตุต่างชนิดจะมีเลขอะตอมไม่ซ้ำกัน   โดยในอะตอมที่เป็นกลางจะมีจำนวนโปรตอน (p)  เท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน (e)   ดังนั้น  

เลขอะตอม  จำนวนโปรตอน (pจำนวนอิเล็กตรอน (e) =  Z

เลขมวล  (Mass  Number)   ใช้สัญลักษณ์เป็น  A
          คือ  ตัวเลขที่แสดงผลรวมจำนวนโปรตอน (p)  และ นิวตรอน (n)  ในนิวเคลียสของอะตอม  ดังนั้น
เลขมวล   =   จำนวนโปรตอน (p) จำนวนนิวตรอน (n)  =  A                                           
นั่นคือ                     จำนวนนิวตรอน (n)  หาได้จาก  เลขมวล เลขอะตอม

หรือ                    จำนวนนิวตรอน (n)  =  A - Z



ตารางที่ 2  แสดงสัญลักษณ์นิวเคลียร์และอนุภาคมูลฐานของธาตุบางชนิด

สัญลักษณ์
(X)
เลขมวล
(A)
เลขอะตอม
(Z)
อนุภาคมูลฐานในอะตอม
โปรตอน
นิวตรอน
อิเล็กตรอน
He
4
2
2
2
2
Be
9
4
4
5
4
O
16
8
8
8
8
Na
23
11
11
12
11
Al
27
13
13
14
13

ไอโซโทป   หมายถึง 

          ธาตุชนิดเดียวกันที่มีเลขอะตอมเท่ากัน  แต่มีเลขมวลต่างกัน  หรือธาตุชนิดเดียวกันที่มีจำนวนโปรตอนเท่ากัน   แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน

             สิ่งที่เหมือนกันของไอโซโทป                                สิ่งที่ต่างกันของไอโซโทป

1.             จำนวนโปรตอนเท่ากัน                                       1.  มวลของอะตอมต่างกัน
2.             จำนวนอิเล็กตรอนเท่ากัน                             2.  จำนวนนิวตรอนต่างกัน
3.             เลขอตอมเท่ากัน                                              3.   เลขมวลต่างกัน
การเขียนสัญลักษณ์ของไอโซโทป  ต้องเขียนเป็นสัญลักษณ์นิวเคลียร์  เช่น  ธาตุไฮโดรเจน (H)  มี  ไอโซโทป  ดังนี้
ตารางที่ แสดงการเขียนสัญลักษณ์ไอโซโทปของธาตุไฮโดรเจน (H)

สัญลักษณ์นิวเคลียร์
ชื่อเฉพาะ
สัญลักษณ์
1.       H
โปรเทียม (Protium)
H
2.     H
ดิวเทอเรียม  (Deuterium)
D
3.    H
ทริเทียม (Tritium)
T


คลิปเรื่องสัญลักษณ์ของธาตุ



ลิงค์แบบฝึกหัดเรื่องสัญลักษณ์ของธาตุ




11 ความคิดเห็น:

  1. เป็นสื่อการสอนที่ดีมากค่ะ ทำให้เราเข้าใจง่ายขึ้น

    ตอบลบ
  2. มีความรู้เพิ่มขึ้นมาก

    ตอบลบ
  3. ได้ความรู้มากขึ้น ครูออมน่ารักดีคร๊

    ตอบลบ
  4. เรียนยังมะค่อยรู้เรื่องเพราะขาดเรียนบ่อยมาก ขอความอนุเคราะห์ จากอาจารย์ ผู้สอนด้วยครับ^^!!

    ตอบลบ
  5. ได้รับความรู้ได้ดีมากคร๊าบ

    ตอบลบ
  6. ดีมากๆเลย

    อ่านแล้วเข้าใจมากขึ้นเยอะ

    ตอบลบ
  7. รูปน่ารัก.........เนอะ


    อาจารย์...ออม

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ26 สิงหาคม 2554 เวลา 21:57

    ก็เข้าใจง่ายดี สอนเข้าใจง่าย

    ตอบลบ
  9. Wynn casino, open to all but non-smokers - Dr. Maryland
    Wynn Casino will close indefinitely without a 제주 출장안마 casino license, The Hollywood Casino in Las Vegas announced Monday. 안산 출장마사지 It 고양 출장샵 will 원주 출장안마 be 남양주 출장샵 the first resort in

    ตอบลบ