วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สัญลักษณ์ของธาตุ

สัญลักษณ์ของธาตุ

                ในอดีต  นักวิทยาศาสตร์ชื่อ จอห์น  ดาลตัน   เสนอให้ใช้รูปภาพเป็นสัญลักษณ์แทนธาตุชนิดต่างๆ  ดังตัวอย่าง

               







    
รูป  แสดงตัวอย่างสัญลักษณ์ของธาตุตามแนวคิดของ  จอห์น  ดาลตัน
                ในปัจจุบัน  เราใช้สัญลักษณ์ของธาตุตามแนวความคิดของ  โจห์น  จาคอบ  เบอร์ซีเลียส  โดยเขาเสนอให้ใช้อักษรแทนชื่อธาตุ  ซึ่งมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1.   ใช้อักษรตัวแรกของชื่อธาตุในภาษาอังกฤษหรือภาษาลาติน  เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่
2.   ถ้าตัวอักษรตัวแรกของชื่อธาตุซ้ำกัน   ให้เขียนอักษรตัวถัดไปด้วยตัวพิมพ์เล็ก  ดังแสดงในตาราง

ตัวอย่างสัญลักษณ์ของธาตุบางชนิดที่เราคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน
ตารางที่ 1   ตัวอย่างสัญลักษณ์ของธาตุ

ธาตุ

สัญลักษณ์
ชื่อภาษาอังกฤษ
ชื่อภาษาละติน
ไฮโดรเจน
H
Hydrogen
-
คาร์บอน
C
Carbon
-
ไนโตรเจน
N
Nitrogen
-
ออกซิเจน
O
Oxygen
-
โซเดียม
Na
Sodium
Natrium
โปแทสเซียม
K
Potassium
Kalium


สัญลักษณ์นิวเคลียร์

                   เลขมวล     =    p+n              
                  เลขอะตอม  p
นักวิทยาศาสตร์จะบอกจำนวนอนุภาคมูลฐานในอะตอมของธาตุแต่ละชนิดโดยใช้สัญลักษณ์นิวเคลียร์  ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข  จำนวน   อยู่ในตำแหน่งล่างซ้ายและบนซ้ายของสัญลักษณ์ธาตุ (Xโดย
                ตัวเลขในตำแหน่งล่างซ้าย              เรียกว่า  เลขอะตอม”  (Z)
                ตัวเลขในตำแน่งบนซ้าย                   เรียกว่า   เลขมวล”     (A)

เลขอะตอม  (Atomic  Number)   ใช้สัญลักษณ์เป็น  Z
             คือ  ตัวเลขที่แสดงจำนวนโปรตอน  (p)  สำหรับธาตุชนิดเดียวกันจะต้องมีจำนวนโปรตอน(p) เท่ากันเสมอ   นั่นก็คือ เลขอะตอมจะต้องเท่ากันเสมอ  ดังนั้น  ธาตุต่างชนิดจะมีเลขอะตอมไม่ซ้ำกัน   โดยในอะตอมที่เป็นกลางจะมีจำนวนโปรตอน (p)  เท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน (e)   ดังนั้น  

เลขอะตอม  จำนวนโปรตอน (pจำนวนอิเล็กตรอน (e) =  Z

เลขมวล  (Mass  Number)   ใช้สัญลักษณ์เป็น  A
          คือ  ตัวเลขที่แสดงผลรวมจำนวนโปรตอน (p)  และ นิวตรอน (n)  ในนิวเคลียสของอะตอม  ดังนั้น
เลขมวล   =   จำนวนโปรตอน (p) จำนวนนิวตรอน (n)  =  A                                           
นั่นคือ                     จำนวนนิวตรอน (n)  หาได้จาก  เลขมวล เลขอะตอม

หรือ                    จำนวนนิวตรอน (n)  =  A - Z



ตารางที่ 2  แสดงสัญลักษณ์นิวเคลียร์และอนุภาคมูลฐานของธาตุบางชนิด

สัญลักษณ์
(X)
เลขมวล
(A)
เลขอะตอม
(Z)
อนุภาคมูลฐานในอะตอม
โปรตอน
นิวตรอน
อิเล็กตรอน
He
4
2
2
2
2
Be
9
4
4
5
4
O
16
8
8
8
8
Na
23
11
11
12
11
Al
27
13
13
14
13

ไอโซโทป   หมายถึง 

          ธาตุชนิดเดียวกันที่มีเลขอะตอมเท่ากัน  แต่มีเลขมวลต่างกัน  หรือธาตุชนิดเดียวกันที่มีจำนวนโปรตอนเท่ากัน   แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน

             สิ่งที่เหมือนกันของไอโซโทป                                สิ่งที่ต่างกันของไอโซโทป

1.             จำนวนโปรตอนเท่ากัน                                       1.  มวลของอะตอมต่างกัน
2.             จำนวนอิเล็กตรอนเท่ากัน                             2.  จำนวนนิวตรอนต่างกัน
3.             เลขอตอมเท่ากัน                                              3.   เลขมวลต่างกัน
การเขียนสัญลักษณ์ของไอโซโทป  ต้องเขียนเป็นสัญลักษณ์นิวเคลียร์  เช่น  ธาตุไฮโดรเจน (H)  มี  ไอโซโทป  ดังนี้
ตารางที่ แสดงการเขียนสัญลักษณ์ไอโซโทปของธาตุไฮโดรเจน (H)

สัญลักษณ์นิวเคลียร์
ชื่อเฉพาะ
สัญลักษณ์
1.       H
โปรเทียม (Protium)
H
2.     H
ดิวเทอเรียม  (Deuterium)
D
3.    H
ทริเทียม (Tritium)
T


คลิปเรื่องสัญลักษณ์ของธาตุ



ลิงค์แบบฝึกหัดเรื่องสัญลักษณ์ของธาตุ




วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ตารางธาตุในปัจจุบัน


     เนื่องจากปัจจุบันนักเคมีพบว่า การจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุมีส่วนสัมพันธ์กับสมบัติต่าง ๆ ของธาตุ กล่าวคือ ถ้าเรียงลำดับธาตุตามเลขอะตอมจากน้อยไปหามาก จะพบว่าธาตุที่มีสมบัติคล้ายคลึงกันเป็นช่วง ๆ ตามลักษณะของการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุนั้น ดังนั้นในปัจจุบันจึงจัดตารางธาตุโดยเรียงตามเลขอะตอมจากน้อยไปมาก


   ธาตุในแต่ละหมู่ ของกลุ่ม A ถ้ามีสมบัติคล้ายกันจะมีชื่อเรียกเฉพาะหมู่ เช่น
  • ธาตุหมู่ IA เรียกว่า โลหะอัลคาไล (alkali metal) ได้แก่ Li , Na , K , Rb , Cs , Fr
  • ธาตุหมู่ IIA เรียกว่า โลหะอัลคาไลน์เอิร์ท (alkaline earth) ได้แก่ Be Mg Ca Sr Ba Ra
  • ธาตุหมู่ VIIA เรียกว่า ธาตุเฮโลเจน (halogen) ได้แก่ F Cl Br I At
  • ธาตุหมู่ที่ VIIIA เรียกว่า ก๊าซเฉื่อย (Inert gas) ได้แก่ He Ne Ar Kr Xe Rn
      สำหรับการแบ่งธาตุเป็นคาบ ธาตุทั้งหมดในตารางธาตุแบ่งเป็น 7 คาบ ซึ่งในแต่ละคาบอาจจะมีจำนวนธาตุไม่เท่ากัน เช่น สำหรับคาบต่าง ๆ ในตารางธาตุแบ่งเป็น 7 คาบดังนี้
  • คาบที่ 1 มี 2 ธาตุ คือ H , He
  • คาบที่ 2 มี 8 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Li ถึง Ne
  • คาบที่ 3 มี 8 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Na ถึง Ar
  • คาบที่ 4 มี 18 ธาตุ คือ ตั้งแต่ K ถึง Kr
  • คาบที่ 5 มี 18 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Rb ถึง Xe
  • คาบที่ 6 มี 32 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Cs ถึง Rn
  • คาบที่ 7 มี 19 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Fr ถึง Ha
     รวมทั้งหมด 105 ธาตุ เป็นก๊าซ 11 ธาตุ คือ H , N , O , F , Cl , He , Ne , Ar , Kr , Xe และ Rn เป็นของเหลว 5 ธาตุ คือ Cs , Fr , Hg , Ga และ Br ที่เหลือเป็นของแข็งสำหรับ 2 แถวล่างเลขอะตอม 58 - 71 และ 90 - 103 เป็นธาตุกลุ่มย่อยที่แยกมาจากหมู่ IIIB ในคาบที่ 6 และ 7 เรียกธาตุในกลุ่มย่อยนี้รวม ๆ ว่า กลุ่มธาตุเลนทาไนด์ และกลุ่มธาตุแอกทิไนด์
     นอกจากนี้เมื่อพิจารณาธาตุหมู่ IIIA ไปทางขวามือ จะพบเส้นหนักหรือเส้นทึบเป็นแบบขั้นบันได เส้นหนักนี้จะเป็นเส้นแบ่งกลุ่มธาตุโลหะและอโลหะ กล่าวคือ ธาตุทางขวาของเส้นขั้นบันไดจะเป็นอโลหะ ธาตุทางซ้ายมือของเส้นขั้นบันไดจะเป็นโลหะ ธาตุที่อยู่ชิดกับเส้นขั้นบันได เป็นธาตุกึ่งโลหะ ซึ่งมีทั้งสมบัติของโลหะและอโลหะ เช่น ธาตุ B , Si , Ge , As , Sb , Te


               ลองมาร้องเพลงตารางธาตุกันนะค่ะ



ลิงค์แบบฝึกหัดเรื่องตารางธาตุ
    http://www.vcharkarn.com/exam/index.php/set/791

   http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/ap-chemistry1/atomic_structure/eq.htm

เพลงตารางธาตุ




คำสั่ง   ให้นักเรียนดูคลิปต่อไปนี้แล้วบันทึกชื่อธาตุที่อยู่ในคลิป